Botany@KUS
  • Home
  • history
  • ทะเบียนพรรณไม้ในสาธิตเกษตร
  • พืชศึกษา
    • พืชศึกษา 2562 >
      • ป.1 รวงผึ้ง
      • ห้อง 1 กระดุมทองเลื้อย
      • ห้อง2 ชุมเห็ดเทศ
      • ห้อง 3 ขจร
      • ห้อง4 ประยงค์
      • ห้อง5 ทองอุไร
      • ห้อง6 โสน
      • ห้อง7 อังกาบหนู
    • พืชศึกษา 2561 >
      • ห้อง 1 บัวบก
      • ห้อง 2 โหระพา
      • ห้อง 3 ผักชี
      • ห้อง 4 สะระแหน่
      • ห้อง 5 ผักชีฝรั่ง
      • ห้อง 6 กะเพรา
      • ห้อง 7 แมงลัก
    • พืชศึกษา 2560 >
      • ห้อง 1 กัลปพฤกษ์
      • ห้อง 2 แคแสด
      • ห้อง 3 ไทร
      • ห้อง 4 ปีบ
      • ห้อง 5 พิกุล
      • ห้อง 6 สัก
      • ห้อง 7 หางนกยูง
      • ชมรม สาละ
      • ชมรม นนทรี
    • พืชศึกษา 2559 >
      • ห้อง 1 ราชพฤกษ์
      • ห้อง 2 นนทรี
      • ห้อง 3 ทรงบาดาล
      • ห้อง 4 ประดู่
      • ห้อง 5 เหลืองปรีดียาธร
      • ห้อง 6 พฤกษ์
      • ห้อง 7 จำปา
    • พืชศึกษา 2558
    • พืชศึกษา 2557
    • พืชศึกษา 2556 >
      • ห้อง 1 กล้วยไข่
      • ห้อง 2 กล้วยน้ำว้า
      • ห้อง 3 กล้วยหักมุก
      • ห้อง 4 กล้วยเล็บมือนาง
      • ห้อง 5 กล้วยหอม
      • ห้อง 6 กล้วยหิน
      • ห้อง 7 กล้วยนาก
    • พืชศึกษา 2555 >
      • ห้อง 1 น้ำเต้า
      • ห้อง 2 ฟักทอง
      • ห้อง 3 แตงกวา
      • ห้อง 4 บวบ
      • ห้อง 5 ฟักเขียว
      • ห้อง 6 มะระขี้นก
      • ห้อง 7 ถั่วพู
      • ชมรม ฟักข้าว
    • พืชศึกษา 2554 >
      • ไม้มงคล 9 ชนิด
      • ที่ตั้ง 7 พันธ์ไม้ 2554 >
        • Gallery ราชพฤกษ์
        • Gallery ขนุน
        • Gallery ชัยพฤกษ์
        • Gallery ทองหลางลาย
        • Gallery ไผ่สีสุก
        • Gallery ทรงบาดาล
        • Gallery กันเกรา
      • 01ราชพฤกษ์
      • 02 ขนุน
      • 03 ชัยพฤกษ์
      • 04 ทองหลางลาย
      • 05 ไผ่สีสุก
      • 06 ทรงบาดาล
      • 07 กันเกรา
    • พืชศึกษา2553 >
      • กิจกรรม 7 พันธุ์ไม้ ปีการศึกษา 2553
  • Garden
    • สวนมิตรสัมพันธ์
  • Gallery
    • ภาพ 7 พันธ์ไม้ 2553
  • video
  • Home

ห้องเรียนที่ 2 พืชที่ศึกษา เล็บมือนาง

Picture
ชื่อไทย                  เล็บมือนาง
ชื่ออื่น ๆ                 เล็บมือนาง   ไท้หม่อง   ไม้หม่อง   จะมั่ง   มะจีมัง
ชื่อสามัญ               Rangoon  Creeper,  Drunken  Sailor,  Chinese Honey  Suckle
ชื่อวิทยาศาสตร์      Quisqualis  indica L.
วงศ์                       COMBRETACEAE
นิเวศวิทยา             ถิ่นกำเนิดเอเชียใต้  เอเชียตะวันออกเฉียงใต้  เกาะนิวกินี
การขยายพันธุ์       เมล็ด  การตอนกิ่ง



ลักษณะทั่วไป          เป็นไม้เถาเลื้อยขนาดกลาง  เนื้อไม้แข็ง  แตกกิ่งก้านมากมายทรงพุ่มทึบทอดเลื้อยไปได้ไกล กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลอมเทา กิ่งแก่มีหนาม มี 2 ชนิดคือ  ชนิดกลีบดอกชั้นเดียว  และกลีบดอกซ้อน

เปลือก                  สีน้ำตาลหรือสีเทาอมน้ำตาล  ค่อนข้างเรียบหรือแตกสะเก็ดเป็นแผ่นเล็กๆ และหลุดล่อน

ใบ                       ใบเดี่ยว  ออกตรงกันข้ามเป็นคู่ ๆ รูปรีหรือรูปแกมขอบขนาน  ปลายเป็นติ่งแหลม  โคนมนเว้าเล็กน้อย  ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย  เนื้อใบบาง  หลังใบสีเขียวเข้มเป็นลอนตามเส้นแขนงใบ  ใบอ่อนมีขนนุ่มสั้น ๆ กว้าง 5–10  เซนติเมตร  ยาว 8–16 เซนติเมตร ก้านใบมีขน  ยาว 1.0–1.3  เซนติเมตร

ดอก                     เดี่ยว  ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งและปลายกิ่งช่อละ 12–15 ดอก มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ดอกตูมสีขาว  เมื่อเริ่มบานสีชมพู และเปลี่ยนเป็นสีแดงเข้ม  กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกันเป็นหลอดแคบยาว    5-10 เซนติเมตร  ปลายแยกออกเป็น 5 กลีบ รูปสามเหลี่ยมปลายแหลมกว้าง 0.3-0.4 เซนติเมตร  ยาว 0.3-0.4 เซนติเมตร กลีบดอกชนิดดอกชั้นเดียวมี 5 กลีบ รูปขอบขนาน  ปลายมนกว้าง 0.5-0.7 เซนติเมตร ยาว 1.5-2.0 เซนติเมตร ชนิดดอกซ้อนกลีบดอกมี 14-16 กลีบเรียงซ้อนกันหลายชั้น  เกสรเพศผู้ 10 อัน  อยู่ในหลอดกลีบเลี้ยง  ดอกบานเต็มที่กว้าง 3.5-4.0 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปี

ผล                       กลมหรือรี ขนาดเล็ก กว้าง 1.0-1.5 เซนติเมตร  มีสันตามยาว 5 สัน   มีเมล็ด 1 เมล็ด

ประโยชน์       เล็บมือนางเป็นไม้พื้นบ้านของไทย  นิยมนำมาใช้เป็นยารักษาโรคต่าง ๆ เช่น ใบใช้ตำพอกแผลสด  ฆ่าเชื้อ พอกฝี  แก้ปวดศีรษะ  แก้ท้องอืดเฟ้อ  รากเป็นยาขับพยาธิ  แก้อุจจาระเป็นฟองเหม็นคาว  ผลแก้สะอึก  เมล็ดเป็นยาถ่าย  แก้ไข้ แช่น้ำมันแก้โรคผิวหนัง  การศึกษาทางเภสัชศาสตร์  พบว่ามีสารออกฤทธิ์คือ Quisualic  acid มีฤทธิ์ใบการขับพยาธิได้เป็นอย่างดี


Powered by Create your own unique website with customizable templates.